ค้นหาบล็อกนี้

5/10/2554

ภาพเก่าๆ

ภาพเก่าชวนค้นหา

ช่างภาพในอดีตที่เราไม่ทราบว่าคือใคร ได้ให้ภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคของเขา เข้าใจว่าถ่ายระหว่าง พ.ศ. 2485-2500 หลายภาพเป็นช่วงเหตุการณ์เดียวกัน อย่างเช่นเหตุการณ์น้ำท่วม ผมไม่ทราบว่าแต่ละภาพคือที่ใด หากท่านใดทราบ มาช่วยเฉลยกันครับ




ภาพที่ 1 น้ำท่วมถนน ใช้วัวเทียมเกวียนไม่เดือดร้อน





ภาพที่ 2 สะพานที่มีน้ำท่วมสูงมาก เห็นคนเดินไหวๆบนสะพาน ใช่หรือไม่?

(สะพานนวรัฐ เชียงใหม่ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกที่ทำด้วยไม้สัก ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้สะพาน ทางราชการจึงสร้างสะพานเหล็กลำลองพอให้รถวิ่งข้าไปมาได้ เมื่อรถไฟมาถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2464 จึงมีการรื้อสะพานไม้เดิมแล้วสร้างสะพานเหล็กขึ้นแทน เมื่อปี พ.ศ. 2510 ได้รับการสร้างใหม่ให้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก)





ภาพที่ 3 น่าจะเป็นสะพานในต่างจังหวัด ระยะใกล้มีใบของต้นสัก?

(สะพานเดชาติวงศ์ ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนเข้าสู่ใจกลางเมืองนครสวรรค์
กรมทางหลวงวางแผนสร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เป็นประตูสู่ภาคเหนือ
เมื่อปี 2485 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กมีความยาว 404.5 เมตร
ทางรถกว้าง 6.50 เมตร ทางเท้าข้างสะพาน 1 เมตร)




ภาพที่ 4 น้ำ้ท่วม ไฟฟ้ามีแต่ต้นเสา





ภาพที่ 5 ไม่เห็นรถยนต์สักคัน จักรยายและสามล้อมีอยู่ทั่วไป





ภาพที่ 6 ตลาด มีภาพโฆษณาขายนาฬิกาข้อมือ มีเสาไฟฟ้าแต่ไม่มีสายไฟ
หรืออยู่ระหว่างรอการเดินสายไฟ?





ภาพที่ 7 หอระฆังที่สวยงามของวัดแห่งหนึ่ง เห็นห้องเรียนอยู่ลิบๆ
เข้าใจว่านักเรียนกำลังเรียนหนังสือ

(หอระฆังวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สร้างประมาณปี พ.ศ.2480
เพื่อไว้เป็นที่แขวนระฆังและกังสดาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)





ภาพที่ 8 เรือหาปลาในท้องน้ำที่เวิ้งว้าง





ภาพที่ 9 ริมทะเล





ภาพที่ 10 ทางขึ้นวัดแห่งหนึ่ง

(บันไดนาควัดพระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2100 โดยมีพระมหาญาณมงคลโพธิ ซึ่งมีขนาดความยาว 306 ขั้น ประกอบด้วยพญานาคทั้ง 2 ข้าง ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งอย่างปราณีต พญานาคแต่ละตัวมี 7 หัว บันไดนาคนี้สร้างมานานกว่า 400 ปี มีการชำรุดไปบ้างแต่ก็ได้รับการบำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา)




ภาพที่ 11 ทางขึ้นเขา





ภาพที่ 12 ทางลงจากเขาที่ต้องเดินอีกยาวไกลไม่สิ้นสุด





ภาพ 13 วัดแห่งหนึ่ง





ภาพที่ 14 ทะเล





ภาพที่ 15 วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งมีต้นไม้ปกคลุมไปทั่ว





ภาพที่ 16 เรือ





ภาพที่ 17 ชุมชนชาวประมง





ภาพที่ 18 ชายทะเล





ภาพ 19 ป้อมแผลงไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น