ค้นหาบล็อกนี้

5/03/2554

ลำดับกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา


กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา 



พญามังรายได้ทรงกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองอาณาจักรล้านนา ซึ่งต่อมาได้เป็นอาณาจักรไทยทางเหนือสุดของแผ่นดินสยามมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์มังรายปกครองต่อเนื่องกันมารวม18 พระองค์ คือ
1.      พระเจ้ามังรายมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์ แห่งเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 1839 – 1860
2.      ขุนคราม ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้ามังรายมหาราชขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 1860 – 1861
3.      พระเจ้าแสนภู ซึ่งเป็นราชนัดดาของพระเจ้ามังรายมหาราชขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 1861 – 1862
4.      ขุนเครือ ซึ่งเป็นราชโอรสองค์เล็กของพระเจ้ามังรายมหาราชขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 1862 – 1863 ในช่วงระหว่างนี้ได้เกิดศึกแย่งชิงราชบัลลังก์กัน ระหว่างราชโอรสของขุนคราม 2 พระองค์ จึงทำให้พระเจ้าน้ำท่วมได้ขึ้นครองราชย์แทน
5.      พระเจ้าน้ำท่วม ได้ขึ้นครองราชย์ปกครองเมืองเชียงใหม่เมื่อปีพุทธศักราช 1863 – 1867 แต่ต่อมาพระเจ้าแสนภูก็ได้กลับมาปกครองเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 2 ในระหว่างปีพุทธศักราช 1867 – 1871
6.      พระเจ้าคำฟู ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าแสนภู ได้ขึ้นครองราชย์เมืองเชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 1871 – 1877
7.      พระเจ้าผายู ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าคำฟู ก็ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ ในระหว่างปีพุทธศักราช 1877 –1910
8.      พระเจ้ากือนา ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าผายู ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 1910 – 1931 ในช่วงเวลานี้ได้มีการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ดอยสุเทพขึ้น
9.      เจ้าแสนเมืองมา ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้ากือนา ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ในปีพุทธศักราช 1931 – 1954
10.  เจ้าสามฝั่งแกน ซึ่งเป็นราชโอรสของเจ้าแสนเมืองมา ก็ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่  ในปีพุทธศักราช  1954 – 1985
11.  พระเจ้าติโลกราช ซึ่งเป็นราชโอรสของเจ้าสามฝั่งแกน ได้ขึ้นครองราชย์เมืองเชียงใหม่ในปีพุทธศักราช 1985 –2030
12.  พระเจ้ายอดเชียงราย ซึ่งเป็นราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ในเวลาต่อมา เมื่อปีพุทธศักราช 2030 – 2038
13.  พระเจ้าเมืองแก้ว ซี่งเป็นราชโอรสของพระเจ้ายอดเชียงรายก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ในปีพุทธศักราช 2038 – 2030
14.  พระเจ้าเมืองเกษกล้า ซึ่งเป็นพระอนุชา (น้องของพระเจ้าเมืองแก้วได้ขึ้นปกครองเชียงใหม่  ในปีพุทธศักราช 2068 – 2081
15.  พระเจ้าซาวคำ ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าเมืองเกษเกล้าก็ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2086 – 2089 เป็นเวลาเกือบ 4 ปี
16.  พระเจ้าไชยเชษฐา ซึ่งเป็นกษัตริย์จากอาณาจักรล้านช้างและเป็นราชนัดดาของพระเจ้าเมืองเกษเกล้า ก็ได้มาปกครองเมืองเชียงใหม่ ในระหว่างปีพุทธศักราช 2089 – 2091 ครั้นเมื่อพระองค์กลับไปปกครองอาณาจักรล้านช้าง จึงได้นำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกตที่ประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ไปด้วย
17.  พระเจ้าเมกุฏิวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ มังรายอีกพระองค์หนึ่งที่ชาวเชียงใหม่ได้ไปอัญเชิญมาจากเมืองหน่าย ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐไทยเดิมของพม่า ให้มาปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2094 – 2107
18.  พระนางวิสุทธิราชเทวี นับเป็นเชื้อพระวงศ์มังรายองค์สุดท้ายที่ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2107 – 2121
เมืองเชียงใหม่ได้ถูกพม่าข้าศึกยกกองทัพเข้าบุกยึดเมืองเอาไว้ได้ จากนั้นพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าก็ได้ส่งคนมาปกครองเชียงใหม่ นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2121   มาจนถึงปีพุทธศักราช 2317 โดยมีลำดับผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ทั้งจากเมืองพม่าและจากหัวเมืองไทยที่อยู่ใต้อำนาจการปกครองของพม่าดังนี้
1.      สาวถีนรตรา  มังซอศรี หรือมังนรธาช่อ ได้เข้ามาปกครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 2122-2150
2.      พระช้อย ปีพุทธศักราช 2150-2152
3.      พระชัยทิพ (มองกอยต่อปีพุทธศักราช 2152-2154
4.      พระช้อย (ได้ครองราชย์ครั้งที่ 2 ปีพุทธศักราช 2154-2157)
5.      เจ้าเมืองน่าน ปีพุทธศักราช 2157-2174
6.      พระยาหลวงทิพเนตร ปีพุทธศักราช 2174-2193
7.      พระแสนเมือง ปีพุทธศักราช 2198-2206
8.      เจ้าเมืองแพร่ ปีพุทธศักราช 2206-2215
9.      อุปราชอึ้งแซะ (กรุงอังวะปีพุทธศักราช 2215-2228
10.  บุตรเจ้าเจตุกา (เจพูตรายปีพุทธศักราช 2225-?
11.  มังแรนร่า ปีพุทธศักราช 2250-2270
12.  เทพสิงห์ ปีพุทธศักราช 2270-2270
13.  องค์คำ ปีพุทธศักราช 2270-2302
14.  เจ้าจันทร์ ปีพุทธศักราช 2302-2304
15.  อดีตภิกษุวัดดวงดี (เจ้าขี้หุดปีพุทธศักราช 2304-2306
16.  โป่อภัยคามินี ปีพุทธศักราช 2306-2312
17.  โป่มะยุงง่วน ปีพุทธศักราช 2312-2317

ในขณะที่พม่าเปลี่ยนผู้ปกครองเข้ามาปกครองเมืองเชียงใหม่บ้าง และแคว้นไทยทางเหนือเข้ามาปกครองบ้าง ในปีพุทธศักราช 2310 ทางกรุงศรีอยุธยาก็ได้เสียให้แก่พม่าเช่นกัน ในช่วงระยะนั้นบ้านเมืองเกิดสับสนอลหม่าน อยู่ในลักษณะบ้านแตกสาแหรกขาด พระยาวชิรปราการ (ตากสินจึงได้นำทหารจำนวนหนึ่ง ตีผ่าวงล้อมของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ จนสามารถรวบรวมกำลังกลับมากู้อิสรภาพคืนจากพม่าได้อีกครั้งหนึ่ง
ภายหลังที่ได้ตั้งกรุงธนบุรีและปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้ยกกำลังกองทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่คืนจาสกพม่าได้เด็ดขาด ในปีพุทธศักราช 2317 นับแต่บัดนั้นมา เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาก็ได้ตกเป็นของไทยมาโดยตลอดจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ไทรงสถาปนาพระยากาวิละเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ ทรงยกฐานะเป็นเจ้าประเทศราชเสมอด้วยเจ้าผู้ที่ครองนครเวียงจันทน์ขณะนั้น
เจ้ากาวิละจึงเป็นผู้ครองนครเชียนงใหม่ อันดับที่ 1 (ระหว่างปีพุทธศักราช 2325-2356) เป็นราชโอรสของเจ้าชายแก้ว ซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ ของพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (หนานทิพช้างผู้ครองนครลำปางดังนั้น เจ้ากาวิละจึงเป็นหลานของกนานทิพช้างวีรบุรุษแห่งนครลำปางต้นตระกูล ณ ลำปาง ณ ลำพูน ณ เชียงใหม่ ทุกวันนี้
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อันดับที่ ได้แก่ เจ้าน้อยธรรมลังกา หรือเจ้าช้างเผือก (ระหว่างปีพุทธศักราช 2358-2364) เป็นอนุชาเจ้ากาวิละ (และเป็นโอรสเจ้าชายแก้วองค์ที่ 3)
ต่อมา เจ้าคำฝั้นซึ่งเป็นอนุชาของเจ้ากาวิละอีคนที่ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อันดับที่ 3 ซึ่งเรียกกันอย่างสามัญว่า เจ้าหลวงเศรษฐี (เป็นโอรสองค์ที่ 8 ของเจ้าชายแก้วระหว่างปีพุทธศักราช 2366-2368
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อันดับที่ ได้แก่ เจ้าหลวงวงศา หรือ เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น ในระหว่างพุทธศักราช 2369-2389 เจ้าหลวงพุทธวงศานี้เป็นโอรสของเจ้าพ่อเรือนโอรสองค์ที่ 5 ของเจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม(หนานทิพช้าง) (หรือนัยหนึ่งเป็นอนุชาของเจ้าชายแก้วโอรสองค์ที่ ซึ่งเป็นพระบิดาของเจ้ากาวิละนั่นเองหากจะเรียกแบบสามัญชนก็คือ เจ้าหลวงพุทธวงศาเป็นบุตรผู้น้อง
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อันดับที่ 5 คือ พระเจ้ามโหตรประเทศ หรือ พระยามหาวงศ์ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ระหว่างปีพุทธศักราช 2399-2413
เจ้าเมืองเชียงใหม่ อันดับที่ 6 เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของเจ้ากาวิละ คือ พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ สามัญชยเรียกว่า เจ้าชีวิตอ้าว ครองเมืองเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2399-2413
เจ้าเมืองเชียงใหม่อันดับที่ 7 คือ พระเจ้าอินทวิชานนท์ หรือ พระบิดาแห่งพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ครองเมืองเชียงใหม่ ในระหว่างปีพุทธศักราช 2416-2439
เจ้าผู้ครองนครเมืองเชียงใหม่ อันดับที่ 8 คือ พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าโอรสของเจ้าอินทวิยานนท์ และเป็นพระเชษฐาของพระราชชายา พระเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 พระองค์ครองเมืองเชียงใหม่ในระหว่างปีพุทธศักราช 2444-2452
และเจ้าผู้ครองนครเมืองเชียงใหม่ อันดับที่ 9 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร คือ เจ้าแก้วนวรัฐ โอรสของเจ้าอินทวิชยานนท์ และเป็นอนุชาของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ได้ครองนครเชียงใหม่ ในระหว่างปีพุทธศักราช 2454-2482 ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาตั้งแต่บัดนั้น โดยเปลี่ยนมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแทนในปัจจุบัน

[แก้]

     ที่มา: www.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรล้านนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น